บทที่ 7 ทรัพสินทางปัญญาและจรรยาบรรณของเทคโนโลยีสาารสนเทศ

บทที่  7
ทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินอีกชนิดหนึ่ง นอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น นาฬิกา รถยนต์ โต๊ะ เป็นต้น และอสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นต้น


ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา
     โดยทั่วๆ ไป คนไทยส่วนมากจะคุ้นเคยกับคำว่า "ลิขสิทธิ์" ซึ่งใช้เรียกทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท โดยที่ถูกต้องแล้วทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ที่เรียกว่า ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม และลิขสิทธิ์

     ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม ไม่ใช่สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม แท้ที่จริงแล้ว ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมนี้ เป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม ความคิดสร้างสรรค์นี้จะเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม ซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการ หรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างสวยงามของตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ซื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า ที่รวมถึงแหล่งกำเนิดสินค้าและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม จึงสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
·         สิทธิบัตร (Patent)
·         เครื่องหมายการค้า (Trademark)
·         แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout - Designs Of Integrated Circuit)
·         ความลับทางการค้า (Trade Secrets)
·         สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication)


ลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์ หมายถึง งานหรือความคิดสร้างสรรค์ในสาขาวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม งานภาพยนตร์ หรืองานอื่นใดในแผนกวิทยาศาสตร์ลิขสิทธิ์ยังรวมทั้ง
·สิทธิค้างเคียง (Neighbouring Right) คือ การนำเอางานด้านลิขสิทธิ์ออกแสดง เช่น นักแสดง ผู้บันทึกเสียงและสถานีวิทยุโทรทัศน์ในการบันทึกหรือถ่ายทอดเสียงหรือภาพ
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Program หรือ Computer Software) คือ ชุดคำสั่งที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน
·  งานฐานข้อมูล (Data Base) คือ ข้อมูลที่ได้รับเก็บรวบรวมขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ
  
สิทธิบัตร
สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) หรือ ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ (Utility Model) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด 

อนุสิทธิบัตร
เป็นหนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์
เงื่อนไขการขอรับอนุสิทธิบัตร
- ต้องเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิมยังไม่เคยมีการใช้หรือแพร่หลายก่อนวันยื่นขอ หรือยังไม่เคยมีการเปิดเผยสาระสำคัญของการประดิษฐ์นั้นก่อนวันยื่นขอทั้งในหรือต่างประเทศ
- สามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมได้




     ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์และกฎหมายลิขสิทธิ์.
  • ลิขสิทธิ์คืออะไร  : ลิขสิทธิ์ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง ที่กฎหมายให้ความคุ้มครองโดยให้เจ้าของลิชสิทธิ์ถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานสร้างสรรค์ที่ตนได้กระทำขึ้น
  • งานอันมีลิขสิทธิ์  : งานสร้างสรรค์ที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิชสิทธิ์ต้องเป็นงานในสาขา วรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่าภาพ รวมถึงงานอื่นๆ ในแผนกวรรณคดีวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ งานเหล่านี้ถือเป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญา ความรู้ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะ ในการสร้างสรรค์งานให้เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
  • การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ : สิทธิในลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันที นับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ผลงานออกมาโดยไม่ต้องจดทะเบียน หรือผ่านพิธีการใดๆ
  • การคุ้มครองลิขสิทธิ์ : ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ในการใช้ประโยชน์จากผลงานสร้างสรรค์ของตน ในการทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน รวมทั้งสิทธิในการให้เช่า โดยทั่วไปอายุการคุ้มครองสิทธิจะมีผลเกิดขึ้นทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน โดยความคุ้มครองนี้จะมีตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์และคุ้มครองต่อไปนี้อีก 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต
  • ประโยชน์ต่อผู้บริโภค : การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิในผลงานลิขสิทธิ์ มีผลให้เกิดแรงจูงใจแก่ผู้สร้างสรรค์ผลงานที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่า ทางวรรณกรรมและศิลปกรรมออกสู่ตลาดส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับความรู้ ความบันเทิง และได้ใช้ผลงานที่มีคุณภาพ
 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
             กฎหมายลิขสิทธิ์มีวัตถุประสงค์ให้ความคุ้มครอง ป้องกันผลประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจและทางศีลธรรม ซึ่งบุคคลพึงได้รับจากผลงานสร้างสรรค์อันเกิดจากความนึกคิด และสติปัญญาของตน นอกจากนี้ยังมุ่งที่จะสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงาน กล่าวคือ เมื่อผู้สร้างสรรค์ได้รับผลตอบแทนจากหยาดเหงื่อแรงกายและสติปัญญา ของตน ก็ย่อมจะเกิดกำลังใจที่จะคิดค้นสร้างสรรค์และเผยแพร่ผลงานให้แพร่หลายออกไปมากขิ่งขึ้นอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี การกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาสติปัญญาของคนในชาติ เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต
            ประเทศไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เพื่อใช้บังคับแทน พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 21 มีนาคม 2538 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองต่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยจัดให้เป็นผลงานทางวรรณการประเภทหนึ่ง
             งานที่ได้จัดทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และเป็นงานที่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ จะได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
              แม้ว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์มาเป็นระยะเวลานานแล้ว แต่ความเข้าใจของประชาชนโดยทั่วไปในเรื่องลิขสิทธิ์ยังไม่ชัดเจน ความตระหนัก รู้ถึงความสำคัญขงการคุ้มครองลิขสิทธิ์ และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ยั่งยืนกว่าการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
การละเมิดลิขสิทธิ์
  • การละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง : คือ การทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่โปรแกรมคอมพิวเตอร์แก่สาธารณชน รวมทั้งการนำต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าวออกให้เช่า โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
  • การละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อม :  คือ การกระทำทางการค้า หรือการกระทำที่มีส่วนสนับสนุนให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวข้างต้นโดยผู้กระทำรู้อยู่แล้ว ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น แต่ก็ยังกระทำเพื่อหากำไรจากงานนั้น ได้แก่ การขาย มีไว้เพื่อขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ เสนอให้เช่าซื้อ เผยแพร่ต่อสาธารณชน แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของลิขสิทธิ์และนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร
บทกำหนดโทษ
  • การละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง :  มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท หากเป็นการกระทำเพื่อการค้า มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • การละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อม : มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท หากเป็นการกระทำเพื่อการค้า มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 บาท ถึง 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดกระทำความผิดต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฉบับนี้ เมื่อพ้นโทษแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปีกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัตินี้อีก จะต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
กรณีที่นิติบุคคลกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่ากรรมการหรือผู้จัดการทุกคนของนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดกับนิติบุคคลนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย
ค่าปรับที่ได้มีการชำระตามคำพิพากษานั้น ครึ่งหนึ่งจะตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์อย่างไรก็ดีการได้รับค่าปรับดังกล่าวไม่กระทบต่อสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ ที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งสำหรับส่วนที่เกินจำนวนเงินค่าปรับที่เจ้าของลิขสิทธิ์ได้รับไว้แล้วนั้น

ทำไมต้องให้ความสำคัญกับการละเมิดลิขสิทธิ์
              การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย นอกจากความเสี่ยงทางด้านกฎหมายที่ท่านอาจได้รับแล้ว ธุรกิจของท่านยังสูญเสียชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือ ซึ่งทำให้สูญเสียรายได้และดำเนินธุรกิจได้ยากขึ้น  นอกจากนี้ ท่านยังต้องเสี่ยงกับการใช้ซอฟต์แวร์ที่อาจสร้างปัญหาให้กับข้อมูลทางการค้ามีค่าของท่าน ไม่ได้รับการสนับสนุน ด้านเทคนิค และข่าวสารอันเป็นประโยชน์ต่อท่านและธุรกิจของท่าน  การสนับสนุนการละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นส่วนหนึ่งที่หยุดยั้งการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม ไอทีซึ่งเป็น อุตสาหกรรมที่มีอนาคต อันจะนำมาซึ่งรายได้ให้กับประเทศไทย และมีการพัฒนาความรู้ด้านไอทีให้กับบุคลากรของประเทศ ทำให้สามารถแข่งขันได้ในโลกการค้าโลกาภิวัฒน์
มูลค่าการละเมิดลิขสิทธิ์
              ในปี 2542 สถิติการละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศไทย มีอัตราสูงถึงร้อยละ 81 ทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์สูญเสียรายได้มากกว่า 3,200 ล้านบาท ความสูญเสีย ดังกล่าวไม่เพียงส่งผลกระทบต่อ อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ แต่ยังส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยอีกด้วย การละเมิดลิขสิทธิ์ ซอฟต์แวร์ เป็นอุปสรรค ที่บั่นทอนการพัฒนาวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆในภูมิภาค การลดอัตรา การจ้างงาน การพัฒนาบุคลากร การลงทุน และทำให้รัฐบาลขาดรายได้จากการเก็บภาษีอันจะ นำมาพัฒนาประเทศได้อีกด้วย อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ เป็นอุตสาหกรรมที่มีอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการส่งเสริมให้คนไทยใช้ความสามารถในการคิดค้น และเพิ่มศักย์ภาพในการพัฒนาซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นการพัฒนาคุณภาพของประชาชน บุคลากรรุ่นใหม่ที่กำลังก้าวเข้ามาสู่ตลาดแรงงานจะมีภาคธุรกิจรองรับ หากแต่การละเมิดลิขสิทธิ์เป้นปัญหาสำคัญที่ทำให้ความเจริญเติบโตเหล่านี้หยุดยั้งไป เนื่องจากธุรกิจที่ซื่อสัตย์ไม่สามารถแข่งขันได้ และขาดกำลังใจในการพัฒนาธุรกิจของตน

การกระทำที่ถูกกฎหมายทำได้อย่างไร
        ซื้อลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์ที่ท่านใช้งานอยู่ ทุกซอฟต์แวร์ที่มีการใช้งานต้องมีลิขสิทธิ์เสมอ
  • ติดตั้งและใช้งานลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ 1 ชุดในคอมพิวเตอร์เพียง 1 เครื่องเท่านั้น
  • อย่าทำสำเนาโปรแกรมเพื่อการสำรองมากกว่า 1 สำเนา
  • อย่าให้ผู้ใดขอยืมซอฟต์แวร์ของท่านไปติดตั้ง
ทราบได้อย่างไรว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้มีลิขสิทธิ์ถูกต้องหรือไม่
             เมื่อท่านซื้อซอฟต์แวร์มาใช้งาน ท่านควรได้รับใบอนุญาตการใช้งานซึ่งระบุสิทธิที่เจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้ท่านใช้งานซอฟต์แวร์เหล่านี้ได้ รวมทั้งระบุขอบข่ายของการใช้งานอีกด้วย เช่น ซอฟต์แวร์บางประเภทอาจอนุญาตให้ท่านใช้งานสำเนาที่สองสำหรับการทำงานที่บ้านได้ท่านควรอ่านเอกสาร เหล่านี้ให้ละเอียดเพื่อประโยชน์ของท่านเอง และเก็บเอกสารเหล่านี้ไว้เป็นหลักฐานในการมีลิขสิทธิ์ที่ถูกต้องเสมอ
ข้อสังเกตของซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์
  • ซอฟต์แวร์ราคาถูกจนไม่น่าเชื่อ
  • โปรแกรมนั้นอยู่ในแผ่น CD-ROM ที่บรรจุซอฟต์แวร์หลายชนิดซึ่งมักเป็นผลงานจากผู้ผลิตซอฟต์แวร์หลายบริษัท
  • ซอฟต์แวร์จำหน่ายโดยบรรจุในกล่องพลาสติกใสโดยไม่มีกล่องบรรจุภัณฑ์
  • ไม่มีเอกสารอนุญาตการใช้งาน หรือคู่มือการใช้งาน
จรรยาบรรณวิชาชีพ
ความหมาย
จริยธรรม หมายถึง ความประพฤติที่ถูกต้องชอบธรรม

 ความสำคัญของจริยธรรม

เนื่องจากสังคมมีความต้องการความสันติ ความปลอดภัย ความมั่นคง สุขอนามัย
สิ่งแวดล้อม การพัฒนา เป็นต้นการอยู่ร่วมกันในสังคมต้องอาศัยความอุปถัมภ์ค้ำจุนเกื้อกุล ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความโอบอ้อมอารีต่อกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเพื่อให้
เกิดการพัฒนาร่วมกันในสังคมให้ทุกคนอยู่รอดได้ แต่ปัจจุบันสังคมได้เปลี่ยนแปลงจากเดิมเป็นสังคมใหม่ที่ดี กระแสความรุนแรงเห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมธุรกิจที่
ต้องการความอยู่รอดอย่างเป็นรูปธรรม จึงมีส่วนของสังคมแสดงความเห็นแก่ตัวและทำลายสังคมทางธุรกิจ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงไปยังผู้บริโภคและสังคมโดยส่วนรวม

จรรยาบรรณกับงานคอมพิวเตอร์


จรรยาบรรณในการใช้คอมพิวเตอร์
จริยธรรม (Ethics) เป็นเรื่องของการกำหนดความถูกต้องดีงาม สิ่งที่ไม่ควรทำ มีหลักปฏิบัติในระดับที่สูงกว่ามารยาทในสังคม เช่น คนที่ไม่ยอมเข้าแถวเพื่อขอรับบริการตามสิทธิ์ก่อนหลังอาจถือว่าไม่มีมารยาทหรือพนักงานคอมพิวเตอร์คนหนึ่งเอาข้อมูลทางการเงินของลูกค้าที่เขาจะต้องเห็นตามหน้าที่การงานไปหาผลประโยชน์แก่ตนเอง เช่น ขายรายชื่อนั้นให้ธุรกิจอื่น หรือบอกให้แก่คู่สมรสซึ่งเป็นพนักงานขายตรงไปเสนอขายสินค้า การกระทำเช่นนี้ถือว่าไม่ถูกต้อง ไม่มีจริยธรรม จริงอยู่ แม้ว่าบริษัทที่พนักงานผู้นั้นทำงานอยู่จะไม่เสียหาย แต่การนำเอาของบริษัทไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจทำได้อย่างเปิดเผย หรือพนักงานขายสินค้าของทางบริการหนึ่งซึ่งลาออกจากบริษัทเพื่อไปทำงานกับบริษัทคู่แข่งแล้วใช้ประโยชน์จากความรู้ในเรื่องข้อมูลราคาหรือความลับทางการค้าของบริษัทแรกไปให้บริษัทหลัง ก็อาจเรียกได้ว่าพนักงานคนนั้นไม่มีจริยธรรม เมื่อสังคมสลับซับซ้อนขึ้น มีการแบ่งหน้าที่กันออกเป็นหน้าที่ต่าง ๆ จึงมีข้อกำหนดที่เรียกว่า จรรยาวิชาชีพ” (Code of Conduct) ขึ้น เพื่อใช้เป็นหลักปฏิบัติของคนในอาชีพนั้น ๆ เราคงเคยได้ยิน จรรยาบรรณของแพทย์ ที่จะไม่เปิดเผยเรื่องราวส่วนตัวของคนไข้ จรรยาบรรณของนักหนังสือพิมพ์ที่รับเงินทองสิ่งตอบแทนเพื่อเสนอข่าวหรือไม่เสนอข่าวไม่เปิดเผยแหล่งข่าวถ้าแหล่งข่าวไม่ต้องการจรรยาบรรณวิชาชีพของสถาปนิกหรือวิศวกรผู้ออกแบบที่ต้องไม่รับผลประโยชน์ใด ๆ จากผู้ขายอุปกรณ์ที่ใช้ในงานที่เขาออกแบบ ซึ่งขายให้กับผู้ว่าจ้างงานชิ้นนั้นเพราะเขาได้รับปลตอบแทนจากผู้ว่าจ้างแล้ว จรรยาบรรณของวิชาชีพใด ก็มักกำหนดขึ้นโดยสมาคมวิชาชีพนั้น โดยมีข้อกำหนด บทลงโทษที่นอกเหนือไปจากกฏหมายบ้านเมือง เช่น เพิกถอนสมาชิกภาพ เพิกถอนหรือพักใบประกอบวิชาชีพ และอาจมีกฏหมายรองรับอีกด้วย อาชีพนักคอมพิวเตอร์ เป็นอาชีพใหม่ในสังคมสารสนเทศ การใช้คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ ก็เป็นสิ่งใหม่ที่มีศีลธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณเฉพาะของตนซึ่งบางครั้งก็แตกต่างจากจริยธรรมที่ยอมรับกันมาแต่ก่อน หลักพื้นฐานของจริยธรรมในสังคมสารสนเทศก็คือการเคารพผู้อื่น เคารพความเป็นส่วนตัว การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลก็จะเฉพาะสิทธิ์ที่ตนเองมีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงาน


แฮกเกอร์  (Hacker)  นั้น  หมายถึง  ผู้ที่ชื่นชอบในการเสาะแสวงหารายละเอียดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์  รวมถึงการวิธีการใช้คอมพิวเตอร์ให้ได้เต็มหรือเกินขีดความสามารถของมัน  มากกว่าผู้ใช้ทั่ว ๆ  ไป  หรือไม่ก็พวกที่ชอบสอดรู้สอดเห็นที่พยายามเข้าไปล้วงข้อมูล  สอดแนม  หรือโจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อความท้าทาย  หรือความตื่นเต้น  ที่จะได้มาเมื่อตนประสบความสำเร็จ...  ซึ่งประโยคหลังทำให้คำว่า  แฮกเกอร์  เปลี่ยนไป....  ก่อนที่คำว่าแฮกเกอร์  จะมีความหมายในแง่ลบในปัจจุบัน  เมื่อเราย้อนเวลาออกไป  แฮกเกอร์เขาก็มีจรรยาบรรณเช่นกัน  หลักการชุดนี้จะเป็นที่ยึดถือกันในหมู่ชาวแฮกเกอร์ในอดีต  นั่นก็หมายถึงว่า  ในปัจจุบันแทบไม่มีหลักการหลงเหลือเลย.....  นั้นก็คือ
          1.คอมพิวเตอร์เป็นทรัพย์สินสาธารณะที่ทุกคนสามารถาใช้ได้ แก้ไข ปรับปรุงและทดลองได้
          2.ข้อมูลความรู้เป็นของสาธารณไม่ใช่ของส่วนบุคคล ไม่ควรมีราคา
          3.ไม่ไว้วางใจผู้มีอำนาจ ส่งเสริมการกระจายอำนาจ
          4.แฮกเกอร์ต้องถูกตัดสินจากความสามารถของเขา ไม่ใช่ด้วยวุฒิการศึกษา วัยวุฒิ ตำแหน่งหรือเชื้อชาติ
          5.ทุกคนล้วนมีสิทธิในการสร้างสรรค์สิ่งดีงามด้วยคอมพิวเตอร์
          6.คอมพิวเตอร์สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้นได้

          .


ประวัติแฮกเกอร์
แฮกเกอร์ (Hacker) คือ บุคคลที่มีความสนใจในกลไกการทำงานของระบบปฏิบัติการบนคอมพิวเตอร์อย่างลึกซึ้ง แฮกเกอร์ส่วนใหญ่ต้องมีความรู้เทียบเท่าหรือเหนือกว่าโปรแกรมเมอร์ โดยจะเป็นเช่นนั้นได้ เพราะพวกเขามีความใส่ใจที่จะนำความรู้พื้นฐานที่ผู้อื่นมองว่าธรรมดามาประยุกต์ใช้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดแนวความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ อยู่ในสังคมดิจิตอลอยู่ตลอดเวลา แฮกเกอร์จะมีความเข้าใจในจุดอ่อนของระบบและที่มาของจุดอ่อนนั้นๆ เนื่องจากคอยติดตามข่าวสารและความรู้ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา การกระทำใดๆ ที่เกิดจากการศึกษาของแฮกเกอร์จะต้องแน่ใจแล้วว่า ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ข้อมูล"
      "แฮกเกอร์ (Hacker) หมายถึง บุคคลผู้ที่เป็นอัจริยะ มีความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี สามารถเข้าไปถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์ โดยเจาะผ่านระบบรักษาความปลอดภัย ของคอมพิวเตอร์ได้ กลุ่มพวกนี้จะอ้างว่า ตนมีจรรยาบรรณ ไม่หาผลประโยชน์จากการบุกรุกและประณามพวก Cracker"
      "แฮกเกอร์ (Hacker) คือ บุคคลผู้ซึ่งสามารถประยุกต์เอาความรู้ธรรมดาให้กลายเป็นเครื่องมือพิเศษ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางที่สุจริตได้"




จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต
ใช้อินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมาก และเพิ่มขึ้นทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่ายที่ออนไลน์ และส่งข่าวสารถึงกันย่อมมีผู้ที่มีความประพฤติไม่ดีปะปน และสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้อื่น อยู่เสมอ หลายเครือข่ายจึงได้ออกกฎเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่ายเพื่อให้สมาชิกใน เครือข่ายของตนยึดถือและปฏิบัติตาม การสร้ากฎเกณฑ์ก็เพื่อให้สมาชิกโดยส่วนรวมได้ รับประโยชน์สูงสุด ไม่เกิดปัญหาจากผู้ใช้บางคนที่สร้างความเดือดร้อนให้
ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายใดจะต้องเข้าใจกฎเกณฑ์ข้อบังคับ ของเครือข่ายนั้น มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่นและจะต้อง รับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่าง ๆ บนเครือข่ายบนระบบ คอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเรียกเข้าใช้มิได้เป็นเพียงเครือข่ายขององค์กร ที่ผู้ใช้สังกัดอยู่ แต่เป็นการเชื่อมโยงของเครือข่ายต่าง ๆ เข้าหากันหลายพันหลายหมื่น เครือข่าย มีข้อมูลข่าวสารวิ่งอยู่ระหว่างเครือข่ายเป็นจำนวนมาก การส่งข่าวสารลงใน เครือข่ายนั้นอาจทำให้ข่าวสารกระจายเดินทางไปยังเครือข่ายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก หรือแม้แต่การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่ง ก็อาจจะต้องเดินทางผ่านเครือข่าย อีกหลายเครือข่ายกว่าจะถึงปลายทาง ดังนั้นผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตต้องให้ความสำคัญ และตระหนักถึงปัญหาปริมาณข้อมูลข่าวสารที่วิ่งอยู่บนเครือข่าย
ในฐานะที่เป็นผู้ใช้งาน คุณได้รับสิทธิ์ให้เข้าใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต แต่อย่างไรก็ดีจะต้อง เข้าใจกฎเกณฑ์ต่างๆที่แต่ละเครือข่ายย่อยวางไว้ด้วย ไม่พีงละเมิดสิทธิ์หรือกระทำกาใดๆ ที่สร้างปัญหา หรือไม่เคารพกฎเกณฑ์ที่แต่ละเครือข่ายวางไว้ และจะต้องปฏิบัติตาม คำแนะนำของผู้บริหารเครือข่ายย่อยๆนั้นอย่างเคร่งครัด
การใช้งานอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตน่าใช้และเป็นประโยชน์ ร่วมกันอย่างดี กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยง เช่น การส่งกระจายข่าวลือ ไปเป็นจำนวนมากบนเครือข่าย การกระจายข่าวแบบส่งกระจาย ไปยังปลายทางจำนวนมาก การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลเสียโดยรวมต่อผู้ใช้ และไม่เกิดประโยชน์ใดๆต่อสังคมอินเทอร์เน็ต
เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข จึงมีผู้พยายามรวบรวมกฏกติกามารยาท และวาง เป็น จรรยาบรรณอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า Netiquette
ข้อมูลและข้อความในเรื่องจรรยาบรรณอินเทอร์เน็ตนี้ ได้เรียบเรียงมาจากบทความบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยฟอร์ริดาแอตแลนติก โดยผู้รวบรวมชื่อ Arlene H. Rinaldi นอกจากนี้ยังได้รวบรวมจากข้อคิดเห็น และการเสนอข่าวในยูสเน็ตนิวส์

จรรยาบรรณเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์เมล์และไฟล์

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนมีเมล์บ็อกซ์หรืออีเมล์แอดเดรสที่ใช้อ้างอิงในการรับส่งจดหมาย ความรับผิดชอบต่อการใช้งานอีเมล์ในระบบจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ เพราะจดหมายมีการรับส่ง โดยระบบซึ่งหากมีจดหมายค้างในระบบจำนวนมากจะทำให้พื้นที่บัฟเฟอร์ของจดหมายในระบบหมด จะเป็นผลให้ระบบ ไม่สามารถรับส่งจดหมายต่อไปได้ หลายต่อหลายครั้งระบบปฏิเสธการรับส่งจดหมายเพราะไฟล์ระบบเต็ม หาก วิเคราะห์ต่อไปพบว่าไฟล์ที่เป็นบัฟเฟอร์ของ mbox ที่ยังไม่ได้เก็บออกเป็นส่วนหนึ่งของไฟล์ระบบ หรือหากมี ผู้ใดผู้หนึ่งส่งเมล์ที่มีขนาดใหญ่มาก และเข้าไปในระบบเดียวกันพร้อมกันหลายๆคน (ส่งแบบกระจาย) ก็จะทำให้ ระบบหยุดการทำงานได้เช่นกัน พึงระลึกเสมอว่าเครื่องที่เก็บ mbox ของแต่ละคนมิได้มีผู้ใช้เพียงไม่กี่คน แต่อาจ มีเป็นพันคน เป็นหมื่นคน ดังนั้นระบบอาจมีปัญหาได้ง่าย
ความรับผิดชอบในการดูแลตู้จดหมาย (mbox) ของแต่ละคนควรจะมีความรับผิดชอบต่อสิ่งต่อไปนี้
- ตรวจสอบจดหมายทุกวัน และจะต้องจำกัดจำนวนไฟล์และข้อมูลในตู้จดหมายของตนให้เหลือภายในโควต้าที่กำหนด
- ลบข้อความหรือจดหมายที่ไม่ต้องการแล้วออกจากดิสต์เพื่อลดปริมาณการใช้ดิสต์
- ให้จำนวนจดหมายที่อยู่ในตู้จดหมาย (mbox) มีจำนวนน้อยที่สุด
- ให้ทำการโอนย้ายจดหมายจากระบบไปไว้ยังพีซี หรือฮาร์ดดิสต์ของตนเองเพื่อใช้อ้างอิงในภายหลัง
- พึงระลึกเสมอว่าจดหมายที่เก็บไว้ในตู้จดหมายนี้อาจถูกผู้อื่นแอบอ่านได้ ไม่ควรเก็บ ข้อมูลหรือจดหมายที่คุณคิดว่าไม่ได้ใช้แล้ว เสมือนเป็นประกาศไว้ในตู้จดหมาย
เมื่อผู้ใช้ได้บัญชีชื่อในโฮสก็จะได้รับสิทธิ์ให้ใช้พื้นที่ดิสต์ ซึ่งเป็นพื้นที่เฉพาะที่เรียกว่า โฮม
ไดเรกทอรีตามโควต้าที่กำหนด ดังนั้นความรับผิดชอบของผู้ใช้ต่อพื้นที่ดิสต์ จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องตระหนัก เพราะพื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่ใช้ร่วมกัน เช่น ในโฮสแห่งหนึ่งมีผู้ใช้ร่วมกันสามพันคน ถ้ากำหนดให้คนละสาม เมกะไบต์ก็จะต้องใช้พื้นที่ถึง 9 จิกะไบต์ แต่โดยความเป็นจริงแล้วโฮสมีพื้นที่ไม่ถึงเพราะถือว่าค่าเฉลี่ยของการใช้ อาจจะอยู่ที่ 1 เมกะไบต์ ดังนั้นถ้าทุกคนใช้พื้นที่ให้พอเหมาะและเก็บไฟล์ที่ไม่ใช้ออกก็จะทำให้ระบบมีพื้นที่ รองรับการใช้งานได้มาก สิ่งเหล่านี้จึงเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ใช้จึงควร
- กำหนดให้ไฟล์ในโฮมไดเรกทรอรีของตนมีจำนวนต่ำที่สุด ไฟล์ต่างควรได้รับการดาวน์ โหลดมายังพีซีของตน
- ในการคัดลอกไฟล์จากของตนไปให้ผู้อื่นหรือนำไฟล์จากอินเทอร์เน็ตมายังเครื่องของตน ควรจะได้หมั่นทำการสะแกนตรวจสอบไวรัส เพื่อว่าจะได้ช่วยกันลดการกระจายของ ไวรัสลงไป
พีงระลึกเสมอว่าไฟล์ของคุณที่เก็บไว้ในเครื่องนั้นอาจได้รับการตรวจสอบโดยผู้ที่มีสิทธิ์สูงกว่าคุณ ดังนั้นจึงไม่ควรเก็บไฟล์ที่เป็นเรื่องลับเฉพาะไว้บนเครื่อง

จรรยาบรรณเกี่ยวกับการใช้  Telnet
telnet เป็นคำสั่งบนอินเทอร์เน็ตที่ยอมให้ผู้ใช้เรียกติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่ อยู่บนเครือข่าย ผู้ใช้มีอิสระในการเรียกคำสั่ง telnet เพื่อต่อไปยังเครื่องต่างๆได้ทั่วโลก แต่การที่จะเข้าไปใช้ใน เครื่องใดจะต้องยึดถือข้อปฏิบัติกฏระเบียบ ดังต่อไปนี้
- ใช้กับเครื่องที่เปิดเป็นสาธารณะที่ให้ใช้ได้ หรือเครื่องที่คุณมีสิทธิ์หรือได้รับอนุญาตให้ ใช้ได้ จะต้องไม่ละเมิดโดยการแอบขโมยสิทธิผู้อื่นนำไปใช้โดยเด็ดขาด เช่นใช้บัญชีและ รหัสผ่านของผู้อื่น
- เครื่องที่ต่อรับ telnet ส่วนใหญ่จะมีระเบียบและกฎเกณฑ์เฉพาะเครื่อง คุณควรทำความ เข้าใจโดยการศึกษาข้อกำหนด โดยเฉพาะเมื่อ login เข้าไปจะมีข้อความและคำชี้แจงบาง อย่างให้อ่านและปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด
- ในการเข้าไปยังเครื่องด้วย telnet จะต้องรีบปฏิบัติงาน และใช้ด้วยเวลาจำกัด เมื่อเสร็จ ธุระแล้วให้รีบ logout ออกจากระบบ เพราะการทำงานแต่ละครั้งย่อมต้องใช้กำลังของ เครื่องเสมอ
- ข้อมูลที่ปรากฏบนจอภาพ หรือข้อมูลที่คุณต้องการคัดลอกมาเก็บไว้ยังเครื่องของคุณ หรือฮาร์ดดิสบนพีซีของคุณ
จรรยาบรรณการใช้   anonymous  ftp

สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นสังคมที่คอยช่วยเหลือกัน และดำเนินการบริการให้กับผู้ใช้ในด้านต่างๆ โดย เฉพาะมีแหล่งข้อมูลและโปรแกรมเป็นจำนวนมากเก็บไว้ในศูนย์บริการ ftp ศูนย์บริการบนเครือข่ายเป็นจำนวน มากเป็นศูนย์บริการสาธารณะแบบ anonymous ที่ยินยอมให้ใครก็ได้เข้ามาขอใช้บริการคัดลอกข้อมูลและเข้ามา เวลาใดก็ได้ การเรียกใช้ ftp จึงควรปฏิบัติตนดังนี้
- เมื่อเข้าสู่ศูนย์ ftp และป้อนชื่อผู้ใช้เป็น anonymous จะต้องใส่ชื่ออีเมล์แอดเดรสตามข้อกำหนดของแต่ละศูนย์ การที่ให้อีเมล์แอดเดรสก็เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงที่บอกได้ว่าผู้ใช้ บริการมีตัวตนและอ้างอิงได้
- การคัดลอกแฟ้ม ควรเลือกเฉพาะที่ใช้งานจริงเท่านั้น ไม่ควรคัดลอกแบบไม่มีการคัด เลือก เพราะจะสร้างปัญหาในเรื่องการสื่อสารมาก ในกรณีที่ต้องการคัดลอกไฟล์ขนาด ใหญ่กว่า 1 ล้านตัวอักษร ควรเลือกเวลาที่เป็นช่างเวลานอกราชการ เช่น ตอนเย็น หรือ กลางคืน
- การเลือกเวลา ftp ในช่วงเวลานอกงานนั้นให้ดูเวลาที่ศูนย์ ftp เป็นหลัก ไม่ใช่เวลาที่ต้น ทางที่คุณทำงานอยู่
- คัดลอกแฟ้มมาเก็บไว้ในเครื่องของคุณตามขอบเขตของโควต้าที่อนุญาตให้ คุณควรรับ ผิดชอบด้วยการถ่ายโอนมายังฮาร์ดดิสต์บนพีซีของคุณ
- เมื่อต้องการหาชื่อไฟล์หรือสอบถาม Archie ให้สอบถามเป็นอีเมล์
- เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของคุณ ในกรณีที่คัดลอกไฟล์มาให้ตรวจสอบดูว่าไฟล์ที่ คัดลอกมามีข้อตกลงทางด้านลิขสิทธิ์อย่างไร ไม่ควรละเมิดลิขสิทธิ์ถ้าเจ้าของไม่อนุญาต และโปรแกรมใดก็ตามที่ไม่ได้ใช้ให้ลบออกจากระบบของคุณ
จรรยาบรรณการใช้ระบบสนทนาแบบออนไลน์

บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีคำสั่งให้ใช้ในการโต้ตอบกันอย่างออนไลน์ หลายคำสั่ง เช่น write, talk หรือมีการสนทนาเป็นกลุ่ม เช่น irc เป็นต้น ในการเรียกหา หรือเปิดการสนทนา ตลอดจนการ สนทนาจะต้องมีมารยาทที่สำคัญ ได้แก่
- ควรเรียกสนทนาจากผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย หรือมีเรื่องสำคัญที่จะติดต่อ ด้วย ควรระลึกเสมอว่าการขัดจังหวะผู้อื่นที่กำลังทำงานอยู่อาจสร้างปัญหาให้ได้
- ก่อนการเรียกคู่สนทนาควรตรวจสอบสถานะการใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียก เพราะการเรียกแต่ละครั้งจะมีข้อความไปปรากฏบนจอภาพของฝ่ายถูกเรียกซึ่งก็สร้าง ปัญหาการทำงานได้ เช่น ขณะกำลังทำงานค้าง ftp ซึ่งไม่สามารถหยุดได้
- หลังจากเรียกไปชั่วขณะ คู่ที่ถูกเรียกไม่ตอบกลับ แสดงว่าคู่สนทนาอาจติดงานสำคัญ ขอ ให้หยุดการเรียก เพราะข้อความที่เรียกไปปรากฏบนจออย่างแน่นอนแล้ว
- ควรใช้วาจาสุภาพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน การแทรกอารมณ์ขัน ควรกระทำกับคนที่ รู้จักคุ้นเคยแล้วเท่านั้น
จรรยาบรรณการใช้ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์  เช่น ยูสเน็ตนิวส์  บูเลตินบอร์ด

ระบบข่าวสารที่ให้บริการในสังคมอินเทอร์เน็ตมีหลายระบบ เช่น ยูสเน็ตนิวส์ ระบบ สมาชิกแจ้งข่าว หลายสมาคมบอกรับสมาชิกและให้ข่าวสารที่สม่ำเสมอกับสมาชิกด้วยการส่งเป็นจดหมายอิเลก ทรอนิกส์ ที่เรียกว่า Mailing lists ผู้เสนอข่าวและผู้อภิปรายเรื่องต่างๆที่เขียนลงไปจะกระจายออกไปทั่วโลก เช่น ข่าวบนยูสเน็ตนิวส์ แต่ละกลุ่ม เมื่อส่งออกจะกระจายไปยังเซิร์ฟเวอร์อื่นๆทั่วโลก ผู้ใช้บริการโดยเฉพาะที่ ต้องการเขียนข่าวสารบนกระดานข่าวจะต้องเคารพกฏกติกา มารยาท โดยเคร่งครัด
ข้อปฏิบัติที่สำคัญได้แก่
- ให้เขียนเรื่องให้กระชับ ข้อความควรสั้นและตรงประเด็น ไม่กำกวม ใช้ภาษาที่เรียบงาน สุภาพ เข้าใจได้
- ในแต่ละเรื่องที่เขียนให้เขียนให้ตรง โดยข้อความที่เขียนควรจะมีหัวข้อเดียวต่อเรื่อง
- ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังในการละเมิด หรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น การให้อีเมล์อาจตรงประเด็นกว่า
- ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้ ไม่เรียกว่าโคมลอย หรือข่าวลือ หรือ เขียนข่าวเพื่อความสนุกโดยขาดความรับผิดชอบ
- จำกัดความยาวของข่าว และหลีกเลี่ยงตัวอักษรควบคุมพิเศษอื่นๆ เพราะหลายเครื่องที่ อ่านข่าวอาจมีปัญหาในการแสดงผล
- ข่าวบางข่าวมีการกระจายกันมาเป็นลำดับให้ และอ้างอิงต่อๆกันมา การเขียนข่าวจึงควร พิจารณาในประเด็นนี้ด้วย โดยเฉพาะอย่าส่งจดหมายตอบโต้ไปยังผู้รายงานข่าวผู้แรก
- ไม่ควรใช้เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ทางการค้า หรืองานเฉพาะของตน เพื่อ ประโยชน์ส่วนตนในเรื่องการค้า
- การเขียนข่าวทุกครั้งจะต้องลงชื่อ และลายเซนต์ตอนล่างของข้อความเพื่อบอกชื่อ ตำแหน่ง แอดเดรสที่อ้างอิงได้ทางอินเทอร์เน็ต หรือให้ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติด ต่อได้
- ในการทดสอบการส่ง ไม่ควรทำพร่ำเพื่อ การทดสอบควรกระทำในกลุ่มข่าวท้องถิ่นที่ เปิดให้ทดสอบการส่งข่าวอยู่แล้ว เพราะการส่งข่าวแต่ละครั้งจะกระจายไปทั่วโลก
- หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรใหญ่ ตัวอักษรใหญ่มีความหมายถึงการตะโกน หรือการแสดง ความไม่พอใจ ในการเน้นคำให้ใช้เครื่องหมาย * ข้อความ* แทน
- ไม่ควรนำข้อความที่ผู้อื่นเขียนไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเรื่อง
- ไม่ควรใช้ข้อความตลกขบขัน หรือคำเฉพาะ คำกำกวม หรือคำหยาบคายในการเขียนข่าว
- ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์ ไม่ควรละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น
- ไม่ควรคัดลอกข่าวจากที่อื่น เช่น จากหนังสือพิมพ์ทั้งหมดโดยไม่มีการสรุปย่อ และเมื่อ ส่งข่าวย่อจะต้องอ้างอิงที่มา
- ไม่ควรใช้กระดานข่าวเป็นที่ตอบโต้หรือละเมิดผู้อื่น
- เมื่อต้องการใช้คำย่อ คำย่อที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่น
IMHO - in my humble / honest opinion
FYI - for your information
BTW - by the way
- การเขียนข้อความจะต้องไม่ใช้อารมณ์ หรือความรู้สึกส่วนตัว และระลึกเสมอว่าข่าวที่ เขียนหรืออภิปรายนี้กระจายไปทั่วโลก และมีผู้อ่านข่าวจำนวนมาก
- ในการเขียนคำถามลงในกลุ่มข่าว จะต้องส่งลงในกลุ่มที่ตรงกับปัญหาที่เขียนนั้น และ เมื่อจะตอบก็ต้องให้ตรงประเด็น
- ในการบอกรับข่าวด้วย mailing list และมีข่าวเข้ามาจำนวนมากทางอีเมล์จะต้องอ่านข่าว และโอนมาไว้ที่เครื่องตน (พีซี) หรือลบออกจาก mbox และหากไม่อยู่หรือไม่ได้เปิดตู้ จดหมายเกินกว่าหนึ่งสัปดาห์จะต้องส่งไปบอกยกเลิกการรับ เพื่อว่าจะได้ไม่มีจดหมาย ส่งเข้ามามาก

บัญญัติ  10  ประการ
ต่อไปนี้เป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทแห่งการปฏิบัติ เพื่อระลึกและ เตือนความจำเสมอ
1. สูเจ้าต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
2. สูเจ้าต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. สูเจ้าต้องไม่สอดแนม หรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
4. สูเจ้าต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. สูเจ้าต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. สูเจ้าต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7. สูเจ้าต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8. สูเจ้าต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. สูเจ้าต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ
10. สูเจ้าต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฏระเบียบ กติกามารยาท
จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบ
ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝังกฏเกณฑ์ของแต่ละเครือข่ายจึงต้องมีและวาง ระเบียบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษที่ชัดเจน เช่น หากปฏิบัติเช่นไรจะถูกคัดชื่อออกจากการเป็นผู้ใช้เครือข่าย
อนาคตของการใช้เครือข่ายยังมีอีกมาก จรรยาบรรณจึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้สังคมสงบสุข และหากการละเมิดรุนแรง กฏหมายก็จะเข้ามามีบทบาทได้เช่นกัน



แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 7
    จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.               การคุ้มครองการแสดงออกทางด้านความคิด  ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์จากการริเริ่มของตนเองคือ สิ่งใด
ก. ทรัพย์สินทางปัญญา                 ข.  ลิขสิทธิ์
ค.  สิทธิบัตร                                                  ง.   อนุสิทธิบัตร
2.    เอกสิทธิ์ที่แสดงถึงการจดทะเบียนคุ้มครองการประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์  คือสิ่งใด
 ก. ทรัพย์สินทางปัญญา                                ข.  ลิขสิทธิ์
ค.  สิทธิบัตร                                                  ง.   อนุสิทธิบัตร
3.   ข้อใดคือการละเมิดสิทธ์ทางอ้อม
ก.  การทำซ้ำ                                     
ข.   การดัดแปลง  เปลี่ยนแปลงข้อมูล
       ค.  การนำผลงานที่มีลิขสิทธิ์ออกให้เช่า 
       ง.    การที่รับของจากคนอื่นโดยไม่รู้ว่าของนั้นมีลิขสิทธิ์
       4.  งานอันมีลิขสิทธิ์มีลักษณะอย่างไร
ก.   เป็นงานที่เกิดจากการที่เราไปคัดลอกมาจากอินเตอร์เน็ต
ข.   เป็นงานที่เกิดจากการไปดูงานมาแล้วนำมาทำให้เหมือนสิ่งที่ไปดูมา
ค.   เป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญา
                ง.    เป็นผลงานที่เกิดจากความวิริยอุตสาหะในการทำผลงานที่เกิดจากการจ้างทำ
    

 5.   การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ์ในผลงานลิขสิทธิ์  มีผลให้เกิดแรงจูงใจแก่ผู้สร้าง       ผลงานที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่า  มีความหมายตรงกับข้อใด
ก.   งานอันมีลิขสิทธิ์                                     ข.   การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์
ค.    การคุ้มครองลิขสิทธิ์                             ง.    ประโยชน์ต่อผู้บริโภค
เฉลยแบบฝึกหัด
1.              
2.              
3.              
4.              
5.