บทที่ 6 นักคอมพิวเตอร์กับอาชีพทางเทคโนโลยสารสนเทศ


บทที่  6
นักคอมพิวเตอร์กับอาชีพทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
         ใครที่ถูกเรียกว่า นักคอมพิวเตอร์
                ในสาขาวิชาอื่น ๆ หลายสาขา เช่น หมอ หรือวิศวกร จะต้องมีใบอนุญาต จึงจะสามารถ
ประกอบอาชีพด้านนั้น ๆ ได้ แต่ในด้านคอมพิวเตอร์นั้น ไม่มีการรับรองจากสมาคมใด อย่างเป็น
ทางการ จากองค์กรภายนอก หากนักคอมพิวเตอร์ทำผิดจริยธรรมด้านคอมพิวเตอร์ จะไม่มีใครมา
ยึดใบอนุญาตการเป็น นักคอมพิวเตอร์คืน แน่นอน .. ซึ่งหมายความว่า ใครก็เป็นนักคอมพิวเตอร์ได้
เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะความรู้ในด้านของคอมพิวเตอร์นั้น หลายหลายมาก และไม่มีความชัดเจน
ประกอบกับลักษณะงาน มักไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมส่วนรวม เช่น หมอ หากรักษาผิด
อาจทำให้คนไข้ถึงตายได้ และวิศวกร หากสร้างอาคารไม่ถูกหลักการ อาจทำให้อาคารล้ม ผู้คน
เสียชีวิตกันมากมายได้ เช่นกัน นอกจากนี้ การเรียนรู้ด้านของคอมพิวเตอร์ ยังไม่จำเป็นต้องเรียนรู้
จากในห้องเรียน มีหลาย ๆ คนที่ประสบความสำเร็จในอาชีพนักคอมพิวเตอร์ โดยไม่จำเป็นต้อง
สำเร็จการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ เคยมีอาจารย์ท่านหนึ่งเล่าให้ผมฟังว่า รู้จักชายคนหนึ่ง จบ
การตลาด แล้วเข้าอบรมหลักสูตร VB ที่ธรรมศาสตร์เคยจัดขึ้น 3 เดือน จากนั้น ถูกจ้างไปเป็น
webmaster ขององค์กรแห่งหนึ่ง ต่อมาก็ได้รับการทาบทามให้เป็นที่ปรึกษา ของบริษัทแห่งหนึ่ง
รายได้ของเขาไม่ต่ำกว่า 20,000 บาท ต่อเดือน  ทั้งที่ไม่ได้จบด้านคอมพิวเตอร์เลย  ซึ่งหมายความว่า
นักคอมพิวเตอร์ที่ประสบความสำเร็จ อาจไม่จำเป็นต้อง สำเร็จการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์โดยตรง
แต่ขอให้มีใจรักและใฝ่ศึกษา เป็นสำคัญ   Larry Page และ Sergey Brin นักศึกษาปริญญาโท ไม่ต้อง
จบ Doctor แต่สามารถพัฒนา google.com จนประสบความสำเร็จระดับโลก หรือ Bill Gate ที่ใคร
ต่อใคร รู้จัก และร่ำรวยจากการเขียน Microsoft Windows มานั้น ก็ไม่ได้สำเร็จการศึกษา ด้าน
คอมพิวเตอร์ โดยตรง (เพราะออกกลางคันซะก่อน) แต่ที่เขาประสบความสำเร็จได้ เพราะมีใจรัก ไม่
ต้องคอยให้ใครมาสั่งสอน ว่าต้องตั้งใจเรียน หมั่นศึกษาหาความรู้ เขาใช้เวลาเป็นวัน ศึกษาด้วย
ตัวเอง จากความพยายามนั้น เขาก็ประสบความสำเร็จ จากการศึกษาสิ่งต่าง ๆ ในโลกคอมพิวเตอร์
และ นำมาประยุกต์ใช้ได้ อย่างยอดเยี่ยม หลายท่านอาจจำได้ว่า นพ.ชุษณะ มะกรสาร แห่งโรงพยาบาลราชวิถี ได้พัฒนา โปรแกรมเวิร์ดราชวิถีที่คนไทยเคยใช้กันทั้งประเทศ และมีคู่แข่งเพียง เวิร์ดจุฬา มีอาชีพหลักคือ เป็นหมอ แต่ท่านได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม จนสามารถเขียนโปรแกรม ที่มีคนใช้กันทั้งประเทศได้ .. นี่คือตัวอย่างของคนที่ต้องได้รับการยกย่อง ว่าสุดยอด
              สรุปว่า นักคอมพิวเตอร์ นั้นใคร ๆ ก็เป็นได้ แต่ถ้าจะเป็นให้ดี จะต้องใช้เวลาศึกษา หาความรู้ ใจรัก และทุ่มเทอย่างมาก กว่าจะรู้เรื่องใด เรื่องหนึ่งพอจะใช้งานได้ และในโลกนี้มี Software มากมาย ที่น่าศึกษา น่าเรียนรู้ นำมาใช้ ให้เกิดประโยชน์ต่อ ตนเอง และคนรอบข้าง ท่านจำเป็นอย่างมาก ที่ต้องแข่งขันกับตัวเอง แข่งขันกับความใฝ่รู้ของตน เพื่อเรียนรู้สิ่งดี ๆ มากมาย ที่กำลังรอท่านอยู่

 หลักสูตรคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
1. นักเรียนประถม เช่น โรงเรียนอนุบาลลำปางสอนนักเรียนพัฒนาโฮมเพจ ส่งนักเรียนไปแข่งควบคุมหุ่นยนต์ สร้างอีบุ๊คด้วย Flip Publisher
2. นักเรียนมัธยม มีวิชาที่ทาง สสวท บรรจุเข้าไปในหลักสูตร เช่น ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์, ตารางทำงานและการประยุกต์เบื้องต้น, ตารางทำงานและการประยุกต์ขั้นสูง, การจัดการฐานข้อมูลเบื้องต้น, การจัดการฐานข้อมูลขั้นสูง, หลักการเขียนโปรแกรม, การเขียนโปรแกรมภาษา และพัฒนาโฮมเพจ
3. อาชีวศึกษา ก็มีทั้ง ปวช. ปวท. ปวส.
4. ปริญญาตรี หรือสูงกว่า เปิดสอนอย่างหลากหลาย
4.1 หลักสูตรคอมพิวเตอร์ศึกษา (Computer Education)
4.2 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering)
4.3 หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science)
4.4 หลักสูตรวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)
4.5 หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
4.6 หลักสูตรคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (Business Computer)
4.7 หลักสูตรระบบสารสนเทศ (Information System)
นักคอมพิวเตอร์
1.  ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User/End User)
          เป็นผู้ใช้งานระดับต่ำสุดซึ่งไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญมากนักก็สามารถใช้งานได้ โดย
ศึกษาจากคู่มือการปฏิบัติงานหรือคู่มือการใช้งานโปรแกรมที่นำมาใช้  หรืออาจต้องเข้ารับการ
อบรมบ้างเพื่อห้าสามารถใช้งานได้ บุคลากรกลุ่มนี้มีจำนวนมากที่สุดในหน่วยงาน และลักษณะงาน
มักเกี่ยวข้องกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป  เช่น  งานธุรการ  สำนักงาน   งานป้อนข้อมูล  งาน
บริการลูกค้าสัมพันธ์ (Call Centerเป็นต้น

 2. ช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์ (Computer Operator/Computer Techician)
          กลุ่มคนประเภทนี้จะต้องมีทักษะและประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
เพราะการปฏิบัติงานกับผู้ใช้อาจเกิดปัญหาได้ตลอดเวลาโดยเฉพาะกับผู้ใช้งานมือใหม่และมามี
ความชำนาญเพียงพอ  ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านฮาร์ดแวร์  เช่นตัวเครื่อง
คอมพิวเตอร์เกิดขัดข้องในระหว่างการทำงานจนไม่สามารถทำงานตามที่ต้องการได้  สิ่งต่าง ๆ 
เหล่านี้มักเกิดขึ้นอยู่เสมอ  หน่วยงานบางแห่งอาจตั้งศูนย์ช่วยเหลือการใช้งานหรือเรียกว่า  Help 
Desk  ขึ้นเพื่อคอยช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของระบบให้ทันท่วงทีและสามารถทำงานได้ตามปกติ

    3. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) 
          บุคลากรด้านการวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน  จะมีหน้าที่วิเคราะห์ความต้องการของ
ผู้ใช้รวมไปถึงผู้บริหารของหน่วยงานนั้น ๆ ด้วยว่าต้องการระบบโปรแกรมหรือลักษณะงานแบบ
ไหนอย่างไร  เพื่อจะพัฒนาระบบงานให้ตรงตามความต้องการมากที่สุด   หน้าที่ดังกล่าวอาจรวมถึง
การออกแบบกระบวนการทำงานของระบบโปรแกรมต่าง ๆ ทั้งหมดด้วย ซึ่งมักจะใกล้ชิดกับ
ผู้ใช้งาน

    4. นักเขียนโปรแกรม (Programmer)
          เมื่อนักวิเคราะห์ระบบปฏิบัติงานเสร็จสิ้น  ก็จะส่งต่อมายังผู้ที่ชำนาญในเรื่องของการเขียน
โปรแกรมโดยเฉพาะเพื่อสร้างระบบงานนั้นออกมาใช้งานได้จริง ๆ เราเรียกชุคลากรกลุ่มนี้ว่า
นักเขียนโปรแกรม หรือ Programmer   นั่นเอง
           โปรแกรมที่มีขนาดเล็กมา (เหมือนกับการสร้างบ้านหลังเล็ก ๆ )  อาจใช้นักเขียนโปรแกรม
เพียงไม่กี่คน  และสร้างเสร็จได้ภายในเวลาไม่กี่วัน  แต่หากโปรแกรมมีขนาดใหญ่มาก
(เปรียบเทียบได้กับการสร้างบ้าน  ตึก หรืออาคารขนาดใหญ่)  นักเขียนโปรแกรมเพียงคนเดียวไม่
เพียงพอสำหรับการเขียนชิ้นงานนั้น  หน่วยงานบางแห่งจึงต้องมีทีมงานจำนวนมากเพื่อรองรับกับ
การเขียนโปรแกรมดังกล่าว วิธีการเขียนอาจแบ่งกลุ่มโปรแกรมออกเป็นส่วนย่อย ๆ  ที่เรียกว่า 
โมดูล (Module)  แล้วกระจายงาออกไปให้กับแต่ละคน   จากนั้นจึงจะนำเอาโมดูลที่ได้กลับมา
รวมกันเป็นโปรแกรมใหญ่อีกหนึ่ง   จะช่วยลดเวลาในการเขียนโปรแกรมลงไปได้มาก
5. วิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer) 
          การสร้างบ้านจำเป็นจะต้องมีวิศวกรมาควบคุมการก่อสร้างบ้านหลังนั้น ๆ   ด้วยว่าสร้างได้
ตรงตามมาตรฐานที่ออกแบบไว้หรือไม่  รวมถึงโครงสร้างมีความแข็งแรงทนทานเพียงใด การผลิต
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ใช้งานก็เช่นเดียวกัน   อาจต้องควบคุมด้วยว่าการออกแบบหรือการเขียน
โปรแกรมนั้นมีปัญหาด้านใดบ้าง  จะแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร เมื่อสร้างเสร็จแล้วอาจจำเป็นต้องมี
การตรวจอบวัดคุณภาพของโปรแกรมด้วยว่าเป็นไปตามหลักมาตรฐานการออกแบบมากน้อย
เพียงใด ตรงตามความต้องการของลูกค้าหรือไม่ 
    6.  ผู้ดูแลเน็ตเวิร์ก (Network Administrator)
          หรือผู้มีหน้าที่ดูแลและบริหารระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร  มักเกี่ยวข้องกับ
ลักษณะงานหลัก ๆ ทางด้านเครือข่ายโดยเฉพาะ เช่น การติดตั้งระบบเครือข่าย การควบคุมสิทธิผู้ที่
จะใช้งาน  การป้องกันการบุกรุกเครือข่าย เป็นต้น
           ผู้ทำหน้าที่นี้จะต้องมีความชำนาญเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดีและต้องมี
ทักษะในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที  เพราะหากไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
เหล่านั้นได้แล้ว  อาจส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อองค์กรได้ก็ต้องสามารถหาวิธียับยั้งการบุกรุกโจมตี
ต่าง ๆ นั้นให้ได้โดยเร็ว  ไม่เช่นนั้นแล้วข้อมูลที่เป็นความลับหรือมีความสำคัญกับงานของบริษัท
อาจถูกทำลายหรือนำไปใช้ประโยชน์ในทางที่เสียหายต่อองค์กรได้  อีกกรณีหนึ่งเช่น  เมื่อเกิด
ปัญหาของไวรัสนั้นแพร่กระจายอยู่ในเครือข่ายขององค์กร  ผู้ดูแลเน็ตเวิร์กต้องสามารถหาทาง
แก้ไขปัญหามาให้ไวรัสนั้นแพร่กระจายหรือลดการกระจายให้น้อยที่สุด  โดยแจ้งวิธีปฏิบัติงานให้
ผู้ใช้ในองค์กรทราบว่าควรทำอย่างไร  เพื่อจะไม่ให้เกิดผลเสียหายที่ร้ายแรงต่อการปฏิบัติงานในองค์กร เป็นต้น
     7. นักคอมพิวเตอร์ศาสตร์ (Computer Scientists)
          นักคอมพิวเตอร์ศาสตร์หรือนักวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีทาง
คอมพิวเตอร์มีความเข้าใจในศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดีและสามารถทำการวิจัยออกแบบ
พัฒนาสิ่งใหม่ ๆ   ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ในอนาคตที่จะเกิดในอุตสาหกรรมส่วนใน
เชิงวิชาการนั้น  นักคอมพิวเตอร์ศาสตร์มักจะมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เช่น
การออกแบบฮาร์ดแวร์  และการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ ซึ่งนักคอมพิวเตอร์ศาสตร์
จำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถหลาย ๆ ด้านด้วยกันไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์
ภาษาคอมพิวเตอร์  ระบบฐานความรู้ และระบบปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น
 8.  ผู้ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ (Computer   Trainers)
          ผู้ฝึกอบรมหรือมักเรียกว่าเทรนเนอร์นั้น  เป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการฝึกอบรม  เช่น  การฝึกอบรม
ใช้งานโปรแกรมระบบคอมพิวเตอร์  ซึ่งผู้ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ 
อยู่ตลอดเวลามีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เป็นอย่าง
ดี เทรนเนอร์จะต้องอธิบายหรือฝึกอบรมให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจก่อนที่จะปฏิบัติงานจริงสามารถ
ตอบปัญหาต่าง ๆ และแนะนำแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ ซึ่งอาจมีแบบทดสอบให้ผู้
อบรมฝึกปฏิบัติก็ได้  อย่างไรก็ตาม  การฝึกอบรมในห้องฝึกอบรม  ผู้เข้ารับการฝึกอบรมอาจมีความ
เข้าใจดี  แต่เมื่อมีการใช้งานกับระบบงานจริง   ในบางครั้งอาจหลงลืมหรือไม่สามารถแก้ไขปัญหา
ได้ด้วยตนเองเพราะด้วยความตื่นเต้นหรือขาดประสบการณ์  ดังนั้นเทรนเนอร์อาจมีความ
จำเป็นต้องคอยสนับสนุนผู้ใช้งานระบบเหล่านั้นในแต่ละวันต่อเนื่องกันไปจนกว่าจะเสร็จสมบูรณ์
ก็เป็นได้  
    
 9.เว็บมาสเตอร์ (Web Masters)
         เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารทางเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต  การเขียนโฮมเพจ  และมีความรู้
เกี่ยวกับภาษาจาวาและคอมพิวเตอร์กราฟิก   โดยสามารถใช้เครื่องมือและโปรแกรมทางกราฟิก
คอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี  มีความเป็นศิลป์หรือมีจิตนาการในการออกแบบเว็บไซต์  ซึ่งปัจจุบัน
การดำเนินธุรกรรมใด ๆ   มักอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าสามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตแทนได้ไม่
ว่าจะเป็นโฮมเพจที่ลูกค้าสามารถเยี่ยมชมสินค้าหรือบริการ  เว็บบอร์ด  การปรึกษาปัญหา และใน
ปัจจุบันมีความนิยมเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตมากขึ้น  ดังนั้นเว็บมาสเตอร์ก็จะต้อง
สามารถออกแบบและสร้างระบบอีคอมเมิร์ซด้วยเครื่องมือเพื่อรองรับระบบงานดังกล่าว  รวมถึง
การบำรุง  รักษา  ปรับปรุง  และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
   10.ผู้บริหารสูงสุดด้านสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ (Chief Information Officer: CIO)
          สำหรับในหน่วยงานขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อขับเคลื่อนงานธุรกิจ
ในองค์กรอาจมี ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดทางด้านการบริหารงานคอมพิวเตอร์ในองค์กรอีกได้
         CIO   จะทำหน้าที่กำหนดทิศทาง   นโยบายและแผนงานทางคอมพิวเตอร์ในองค์การทั้งหมด
ลดองค์ประกอบทางด้านคอมพิวเตอร์ส่วนใดอีกล้างที่จะทำให้เป็นไปตามเป้าหมายโดยรวมมากที่สุด 
11. ผู้จัดการโครงการ (Project Managers)
      ผู้จัดการโครงการเป็นผู้ที่ทำหน้าที่บริหารโครงการให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้โครงการ
ซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่มักจะมีผู้จัดการโครงการเพื่อดูแลโครงการตั้งแต่เริ่มต้นจนสำเร็จโดยจะต้อง
ควบคุมให้ระบบงานเป็นไปตามแผนงานที่ได้กำหนดและอยู่ลนงบประมาณที่วางแผนไว้อีกทั้ง
โครงการที่พัฒนาจะต้องควบคุมดูแลให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
12. ผู้จัดการฝ่ายสารสนเทศ (IT/Is Managers)
      เป็นผู้ที่มีตำแหน่งเทียบเท่า CIO ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในระบบบริหารองค์กรเป็นอย่างดี
สามารถจัดสรรคัดเลือกบุคลากรในตำแหน่งงานได้อย่างเหมาะสม    รวมทั้งการเลื่อนตำแหน่งแก่
พนักงานผู้จัดการฝ่ายสารสนเทศมักเป็นบุคคลที่มีอาวุโสที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารงาน
และความรุเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ 
13. ผู้จัดการระบบเครือข่าย (System of Network Managers)
      เป็นผู้ที่มีความรู้ทางด้านระบบเครือข่ายเป็นอย่างดี  สามารถบำรุงรักษาระบบเครือข่ายในองค์กร
ให้สามารถดำเนินการได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ  โดยปัจจุบันแทบทุกหน่วยงานมักมี
ระบบเครือข่าย  ไม่ว่าจะเป็นระบบเครือข่ายท้องถิ่นหรือระบบแลน  ระบบแวน  และอินเทอร์เน็ต
ซึ่งจำเป็นต้องมีอุปกรณ์เครือข่ายมากมาย    ดังนั้นผู้จัดการระบบเครือข่ายจะต้องสามาถแก้ไขปัญหา
ในกรณีเครือข่ายเกิดความขัดข้องได้   รวมทั้งการออกแบบเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดย
ตำแหน่งงานนี้บางครั้งอาจเรียกว่าผู้บริหารระบบ   (System Administrators)   หรือผู้บริหาร
เครือข่าย   (Network Administrators)


     14. ผู้บริหารข้อมูล   (Database   Administrators   :   DNA)
           เนื่องจากระบบสารสนเทศมักจัดเก็บไว้อยู่ในศูนย์กลางหรือเรียกว่า  Central Database  
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูลเพื่อดูแลจัดการให้สามารถดำเนินธุรกรรมใด ๆ
ได้อย่างราบรื่น   ตำแหน่งหน้าที่นี้ต้องมีความเชี่ยวชาญทางฐานข้อมูลสามารทำการออกแบบพัฒนา
ตารางข้อมูลต่าง ๆ  การออกแบบฟอร์มคิวรี   (Queries)   และรายงานต่าง ๆ เพื่อใช้ในหน่วยงาน
รวมถึงการใช้ชุดคำสั่งภาษา   SQL  ในการจัดการกับฐานข้อมูล  หากฐานข้อมูลเกิดข้อขัดข้อง
ประการใด ก็จะต้องมีทักษะและความสามารถในการจัดการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้
 

เป้าหมายในชีวิตของนักคอมพิวเตอร์
          
ทุกคนต่างมีเป้าหมายในชีวิตด้วยกันทั้งนั้น (แม้หลาย ๆ คนจะบอกว่าไม่มีความหวังอะไรเลย
ผมก็ยังเชื่อว่าสักวันก็ต้องมี) แต่น้อยคนที่จะพบเป้าหมาย ที่คาดหวังไว้ในตอนแรก เมื่อก่อนสำเร็จ
การศึกษา เราจะมีเป้าหมายแบบหนึ่ง แต่เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว น้อยคนที่จะพบงานที่ถูกใจ หรือ
ได้งานที่ถูกใจแล้ว เป้าหมายที่คาดหวังไว้ ก็ไม่ได้อยู่ใกล้เพียงเอื้อม ทุกคนต้องใช้เวลาด้วยกันทั้งนั้น
เป้าหมายแรก ของนักเรียนจบใหม่ คือ ต้องให้ได้งาน .. บ่อยครั้ง งานที่ได้นั้นไม่ถูกใจ เหตุการณ์
แบบนี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้คนส่วนใหญ่ จะต้องปรับตัวให้เข้ากับความเป็นจริง เพราะสิ่งที่
เป็นอยู่ คือการใช้ชีวิตบนโลกมนุษย์แห่งนี้ เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่ง เช่น ครึ่งปี หรือ 1 ปี จะเริ่ม
ปรับตัว และรู้ว่าอะไรเป็นอะไร และที่สำคัญ นักเรียนเริ่มมีประสบการณ์ในการทำงาน รู้ว่าชีวิตการ
ทำงาน คืออะไร หลายคนเริ่มมองหางานใหม่ โอกาสใหม่ ๆ และเงินเดือนในองค์กรใหม่ที่สูงขึ้น
รวมถึง เป้าหมายใหม่ในชีวิต  คนมากมาย หยุดการเปลี่ยนงานในงานที่ 2 นี้เอง เพราะ งานแรกคือ
ความจำเป็น แต่งานที่สองคือความสมัครใจ

แบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 6
จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.               หลักสูตรในระดับประถมศึกษาได้มีการเรียนการสอนในเรื่องใด
ก.  การใช้โปรแกรม Paint                           ข.  การใช้โปรแกรม  Microsoft  office
ค.  การใช้โปรแกรม Internet                       ง.   การใช้โปรแกรม  Homepage
2.  หลักสูตรคอมพิวเตอร์ธุรกิจคือข้อใด
ก. Business  computer
ข. Computer  science
ค. Management of Information  Technology
ง. Computer  engineering

3.               ใครคือผู้ที่อยู่ในกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป
ก.  ช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์                          ข.  นักเขียนโปรแกรม
ค.  ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์                               ง.   นักวิเคราะห์ระบบ
4.   ใครเป็นผู้ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์และตรวจสอบซอฟต์แวร์
ก.   นักเขียนโปรแกรม                 ข.   นักวิศวกรรมซอฟต์แวร์
ค.   นักวิเคราะห์ระบบ                  ง.    ผู้ดูแลเน็ตเวิร์ก
5.   การเลือกบุคลากรที่เหมาะสมว่าจะทำงานได้หรือไม่ควรทำอย่างไร
ก.   ควรพิจารณาพื้นฐานการศึกษาของผู้สมัคร
ข.   ควรสอบถามเรื่องการย้ายงานบ่อย
ค.   ควรพิจารณาหลักฐานการศึกษา
ง.    ควรให้มีการสอบข้อเขียน
เฉลยแบบฝึกหัด
1.              
2.              
3.              
4.              
5.